น้อง ๆ คนไหนที่สนใจการสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการคงเคยได้ยินคำว่า IJSO กันมาบ้าง ซึ่งการสอบ IJSO จะเป็นการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับม.ต้นนั่นเอง ส่วนใครที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนสามารถทำความรู้จักกับสนามแข่งขันนี้เพิ่มเติมได้ที่ รู้จักไหม ? IJSO คืออะไร และในวันนี้ T.GURU จะมาไขข้อสงสัยให้เอง
IJSO หรือ International Junior Science Olympiad คือการแข่งวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศสำหรับเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี มีการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2004 และจัดการแข่งขันขึ้นทุกปีในแต่ละประเทศ โดยแต่ละประทศจะต้องส่งนักเรียนเป็นทีม 6 คนและมีผู้นำทีม (อาจารย์ผู้ควบคุมทีม) 3 คน โดยการสอบจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา
การสอบการแข่งขัน
ข้อสอบแบ่งออกเป็น 3 ส่วนซึ่งจะแข่งในแต่ละวัน ตามกำหนดการที่เจ้าภาพจัดไว้ ซึ่งข้อสอบจะวัดความรู้ผู้เข้าสอบในรายวิชา ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โดยมีคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน
ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบปรนัย (Test Examination)
ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบทั้งหมด 30 ข้อ โดย 10 ข้อเป็นวิชาฟิสิกส์ 10 ข้อเป็นวิชาเคมี และอีก 10 ข้อเป็นวิชาชีววิทยา ซึ่งแต่ละข้อจะมีคำตอบให้เลือกทั้งหมด 4 ตัวเลือก ถ้าผู้เข้าแข่งขันตอบถูกจะได้รับ 1 คะแนน ไม่ได้คะแนนหากไม่ตอบคำตอบ และจะโดนหักลบ 0.25 คะแนนสำหรับข้อที่ตอบผิด ซึ่งในส่วนนี้มีคะแนนเต็ม 30 คะแนน
ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบอัตนัย (Theoretical Examination)
ข้อสอบภาคทฤษฎีแบบอัตนัยจะแบ่งเป็น 3 วิชาเช่นเดียวกัน โดยต้องแสดงวิธีทำในการหาคำตอบ ในส่วนนี้จะมีคะแนนเต็มทั้งหมด 30 คะแนน
ข้อสอบภาคปฏิบัติการ (Experiment Examination)
การสอบภาคปฏิบัติการจะสอบเป็นทีม ทีมละ 3 คน โดยสมาชิกแต่ละคนต้องเป็นผู้แทนประเทศจากประเทศเดียวกันเดียวกัน แต่ละประเทศจะมีทีมแข่งขันมากที่สุดทั้งหมด 2 ทีม โดยแต่ละทีมจะต้องทำตามคำสั่งและตอบคำถามตามที่ข้อสอบถาม สมาชิกทุกคนในทีมจะได้รับคะแนนเท่ากัน โดยในส่วนนี้จะมีคะแนนเต็มทั้งหมด 40 คะแนน
รางวัลในการแข่งขัน
หลังจากตรวจข้อสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะถูกเรียงตามลำดับของคะแนน ร้อยละ 10 ของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับเหรียญทอง ร้อยละ 20 ถัดมาจะได้รับเหรียญเงิน ส่วนร้อยละ 30 ถัดมาจะได้รับเหรียญทองแดง และยังมีรางวัลสำหรับทีมที่ได้คะแนนในการสอบภาคปฏิบัติการสูงสุด รางวัลสำหรับประเทศที่ได้คะแนนรวมดีที่สุดในการแข่งขัน ยังมีรางวัลให้แก่ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนภาคทฤษฎีสูงสุด และคะแนนรวมสูงสุดอีกด้วย โดย Local Organizing Committee (LOC) จะเป็นผู้มอบเกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขันให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน และอาจารย์ผู้คุมทีมของทุกประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน
IJSO กับ สอวน. (POSN) ต่างกันอย่างไร?
IJSO
IJSO ย่อมาจาก International Junior Science Olympiad คือ การแข่งวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศสำหรับเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี มีการแข่งทุกปีตามแต่ละประเทศ โดยมีตัวแทนประเทศเป็นนักเรียน 6 คนและมีอาจารย์ผู้ควบคุมทีม 3 คน โดยการสอบจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา
สอวน. (POSN)
ส่วนของ สอวน. มีเพื่อคัดเลือก และเตรียมพร้อมเพื่อหาตัวแทนประเทศไปแข่งขันโอลิมปิควิชาการแยกตามแต่ละวิชา ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 วิชา โดยการสอบ จะแยกไปตามแต่ละวิชา โดยเมื่อสอบคัดเลือกแล้ว ค่ายสอวน. ที่เรียกกันเล่นๆ ว่าค่ายโอลิมปิกแบบอ้อม ถ้านักเรียนสอบผ่านก็จะได้เข้าค่าย โดยเป็นค่ายที่คัดคนไปแข่งโอลิมปิกวิชาการโดยจะมีการจัดสอบ การเข้าค่าย และสอบคัดคนออกเรื่อยๆ เพื่อนำคนที่ผ่านรอบสุดท้ายไปอบรมก่อนไปแข่งขันในระดับนานาชาติ
ประโยชน์ของ IJSO
น้องๆ จะได้ประสบการณ์จริงจากการอบรม ได้รับความรู้จากวิทยากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขาวิชา และได้พบเจอนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ทำให้มีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนในรายวิชาที่จะสอบ รวมถึงได้รับประสบการณ์ที่ดีตลอดระหว่างการอบรวมและประสบการณ์การสอบจริงซึ่งอาจจะต้องเจอความกดดัน แต่จะช่วยให้น้องสามารถนำสิ่งที่พบเจอไปใช้พัฒนาตนเองได้ รวมถึงทำให้น้องๆ มีโอกาสรู้ว่าตัวเองชอบอะไร ในอนาคตอยากทำอาชีพเกี่ยวกับสาขาวิชาใดหรือก็คือเป็นอีกทางสู่สนามโอลิมปิกวิชาการนั่นเอง
น้องๆ สามารถใช้ผลคะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัยได้ (ขึ้นกับรอบที่น้องๆ ผ่านการคัดเลือก จะมีเปิดรับยื่นบางคณะ สาขา ขึ้นกับแต่ละมหาลัย) เช่น คณะวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ
1.กำลังศึกษาในชั้น ป.6, ม.1 – ม.3 ณ วันที่สมัคร มีคะแนนเฉลี่ยในรายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือผลการเรียนดี พร้อมทั้งมีผลงานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น (ต้องมีใบรับรองจากสถานศึกษา)
2.อายุไม่เกิน 15 ปี
3.สัญชาติไทย
4.ผู้ปกครองยินยอมให้เข้าค่ายอบรม (ถ้าได้รับคัดเลือกจะต้องมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่า 80 % ของแต่ละวิชา)
5.โรงเรียนรับรองโดยผู้อำนวยการโรงเรียน (หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ได้รับมอบหมาย)
6.สำหรับนักเรียนโฮมสคูล ต้องรับรองโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
7.สำหรับนักเรียน รร.สวนกุหลาบวิทยาลัย, รร.สาธิต มศว ปทุมวัน และรร.แสงทองวิทยา การสอบคัดเลือกรอบ 1 และรอบ 2 ให้อยู่ในการดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อคัดผู้แทนนักเรียน รร.ละ 6 คน เข้าร่วมการอบรมในค่ายของมูลนิธิ สอวน.
8.ต้องไม่เคยเป็นผู้แทน IJSO
ไม่ต้องทำ เขียนเผื่อประกาศออก
Leave a Reply